วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วัตถุอันตรายในที่ทำงาน

นาย อรุณ วิชัยรัตน์ เลขประจำตัว 5214770109 วศม. รุ่นที่ 1 aroon-05@hotmail.com
วัตถุอันตรายที่พบในที่ทำงาน เป็นน้ำยาลบหมึก ( LIQUID PAPER ) ชึงมีส่วนผสมของสารระเหยเป็นพวก
Trichloroethone , vinyltrichloride, beta- trichloethone ชนิดของวัตถุอันตรายประเภทที่ 3 CAS NO
79-00-5 ตามประกาศฉบับที่ พ.ศ 2546 สว. 22 กย 2546 ในผลิตภัณฑ์ที่นำมาใช้เพื่อประโยชน์ในการลบหรือ
แก้คำผิดหรือเพื่อการละลายสารเคมีที่ใช้ในการลบหรือแก้คำผิดหรือชักแห้งผ้าหรือสิ่งทออื่นๆ
ความเป็นอันตรายต่อร่างกายต่อผิวหนังหรือการดูดดมทำให้อาการมึมงงได้การทำลายระบบประสาท วิธี
การป้องกันควรทำตามคำเตือน ห้ามรับประทานหรือดูดดมระวังอย่าให้เข้าตาหรือถูกผิวหนัง

วันเสาร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2553

ความต้องการบุคคลากรในด้านบริหารการสาธารณภัย

ความต้องการบุคลากรในด้านบริหารการสาธารณภัย
PERSONAL REQUIREMENT DISASTER MANAGEMENT


บทคัดย่อ
ในประเทศไทยเคยเกิดสาธารณภัยที่ก่อให้เกิดความเสียหายขั้นรุนแรงมาแล้วหลายครั้ง เช่นสงครามมหาเอเชียบูรพา ( พ.ศ.2484 – 2488 ) ไต้ผุ่นเฮเรียตที่แหลมตะลุมพุก( พศ. 2505 )ไต้ผุ่นเกย์ที่จังหวัดชุมพร( พศ. 2532 โคลนถล่มที่ อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช ( พศ. 2531 )สินามิที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน 6 จังหวัด ( พศ.2547 ) อุทกภัยโคลนถล่ม
ภาคเหนีอนที่จังหวัดแพร่ สุโขทัย และอุตรดิตถ์ ( พศ. 2549 ) เพลิงใหม้ชานติก้าผับ ชอยทองหล่อ กรุงเทพมหานคร( พศ. 2552 )และนับแต่มืการปฎิรูประบบราชการเมื่อ พศ.2545 ซึ่งได้มีการจัดตั้ง กรมป้องกันและบรรเทาสาธราณภัย ขึ้นมารับผิดชอบในด้านนี้โดยตรงและที่ผ่านมาได้มีการประกาศแผนพัฒนาเศรฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ( พ.ศ. 2550 – 2554 ) ซึ่งมีการกล่าวถึงการป้องกันภัยคุกคามจากหลายรูปแบบ และนโยบายการเตรียมพร้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2548 ซึ่งกำหนดให้มีการเตรียมพร้อมในทุกภาคส่วน และยังได้มีการพัฒนาแผนแม่บทเพื่อรองรับหลายด้าน ซึ่งพบว่าต้องมีการพัฒนาบุคคลากรเพื่อรองรับภารกิจในหลายด้าน ซึ่งพบว่าต้องมีการพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับภารกิจในหลายด้าน งพบวาต้องมีการพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับภารกิจในหลากหลายสาขาที่เกี่ยวข้องกับสาธรารณภัย

1. คำนำ
พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 กำหนดให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย( พศ.2550 ) กำหนดให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเป็นหน่วยงานของรัฐ ในการดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของประเทศซึ่งงการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ตอบสนองภารกิจโดนการจัดทำแผนแม่บทด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ที่เกิดจากธรรมชาติ และเกิดจากการกระทำของมนุษย์หลายฉบับ และจัดให้มีศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 18 ศูนย์ และสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด 75 จังหวัด นอกจากนี้ ยังจัดตั้งวิทยาลัยป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขึ้นที่จังหวัดปทุมธานี และมีวิทยาเขตอีก 6 แห่งทั่งประเทศ สำหรับในส่วนราชการและระฐวืสาหกิจอื่น ก็ได้มีการพัฒนาหน่วยงานและองค์ความรู้ให้เหมาะสมกับภารกิจของตนเอง เช่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมควบคุมมลพิษกรมโรงงานอุตาหกรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงคมนาคม ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กรมควบคุมโรค สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติกรมธุรกิจพลังงาน กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กรุงเทพมหานคร ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในสังกัดกระทรวงกลาโหม การไฟฟ้าฝ่ายผลิต บริษัท ปตท. จำกัด ( มหาชน ) เป็นต้น

2. ความสำคัญของปัญหา
อย่างไรก็ดีในภาระกิจประเภทวิชาการของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ยังคงต้องอาศัยนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญลคณะกรรมการและคณะทำงานจากายนอก ทั้งในประเทศและต่างประเทศเข้ามาช่วยเหลือโดยเฉพาะการจัดทำแผนหลักต่างๆ ดังนี้

- แผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติ ป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัย
- แผนแม่บทการพัฒนาความปลอดภัยด้านอัคคีภัยแห่งชาติ ( พ.ศ. 2549 -2559)
- แผนปฎิบัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแบบบูรณาการระดับกระทรวง
- แผนแม่บทการป้องกันและให้ช่วยเหลือผู้ประสบภัยจาก อุทุกภัย วาตภัย และโคลนถล่ม ( ระยะ 5 ปี )
- แผนปฎิบัติการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งชาติในเชิงยุทธศาสตร์ พ.ศ. 2552- 2561
ซึ่งในตัละครั้งจะต้องใช้งบประมาณและใช้เวลามาก นอกจากนี้ในส่วนขององศ์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็ประสบปัญหาในด้านการวิเคาระห์นโยบายและแผนเพื่อนำข้อมูลมาจัดทำแผนที่เหมาะสมกับท้องถิ่นเช่นเดี่ยวกัน โดยเฉพาะในปัจจุบันการใช้เทคโนโลยี่สมัยใหม่เป็นสิ่งที่จำเป็นมากในการปฎิบัติการตอบโต้ ( Response ) กับสาธารณภัยที่เกิดขึ้นให้ได้อย่างทันท่วงที และในการบริหารจัดการสาธารณภัย ก็มีความจำเป็นที่ต้องอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ในการบริหารจักการในภาวะฉุกเฉิน รวมไปถึงตอบสนองต่อสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ประสบภัย ซึ่งในด้านผู้ปฎิบัติงานภาคสนามจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ในการที่จะใช้อุปกรณ์สมัยใหม่ที่มีความสลับซับซ้อนเพื่อให้เกิดประสิทธในการปฎิบัติงานในช่วงสถานการณ์วิกฤตและความปลอดภัยของทั้งผู้ประสบภัยและผู้ปฎิบัติงานเอง
ปัจจุบัน บุคลากรของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยมาจากผู้ที่มีคุณวุฒิหลากหลายสาขาและมีการพัฒนาเพิ่มพูนความรู้อย่างต่อเนื่องทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้สามารถดำเนินภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในด้านวิชาการและปฎิบัติการ นอกจากนี้ในแผนแม่บทการพัฒนความปลอดภัยด้านอัคคีภัยแห่งชาติ (พ.ศ.2539 – 2559 ) ของกรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้เสนอแนวทางในการศึกษา ( Education ) คือการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรการให้การศึกษา การฝึกอบรม การให้คำแนะนำแก่ผู้เกี่ยวข้องให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอัคคีภัยไว้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในกระบวนการป้องกันอัคคีภัย เพื่อพัฒนาระบบความปลอดภัยด้านอัคคีภัยของประเทศไทยด้วย
จากาการที่มีการประกาศนโยบายการเตรียมพร้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2548 ของสำนักงานสภาความมั่งคงแห่งชาติ ซึ่งกำหนดให้มีการเตรียมพร้อมในการรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินและวิกฤตใกทุกๆด้าน ซึ่งกระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ดำเนินการและให้การสนนัยสนุนการจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแบบบูรณาการให้กับกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีอยู่ 17 ด้าน ได้แก่
1. ด้านการแจ้งเตือนภัย
2. ด้านต่างประเทศ
3. ด้านพิสูจน์เอกลักษณ์
4. ด้านฐานข้อมูลและสารสนเทศ
5. ด้านการศึกษา
6. ด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติ
7. ด้านการบริจาค
8. ด้านการพื้นฟู
9. ด้านนิวเคลียร์และรังสี
10. ด้านความั่นคง
11. ด้านการเกษตร
12. ด้ารคมนาคม
13. ด้านน้ำ
14. ด้านการสื่อสาร
15. ด้านเชื้อเพลิงและพลังงาน
16. ด้านการแพทย์และสาธารณสุข
17. ด้านการประชาสัมพันธ์
ประกอบกับกระทรวงกลาโหมโดยกรมสรรพกำลังกลาโหม ได้จัดทำแผนผนึกกำลังและทรัพยากรเพื่อการป้องกันประเทศ เพื่อรองรับนโยบายการเตรียมพร้อมแห่งชาติ โดยมีวัตถุประสงค์ให้ทุกภาคมีส่วนร่วมในการผนึกกำลังและทรัพยากรเพื่อเตรียมความพร้อมที่จะรับมือจากภัยคุกคามทั้งภายในและภายนอกประเทศอย่างประสานสอดคล้องและเป็นระบบให้พร้อมที่จะสนับสนุนการปฏิบัติการป้องกันประเทศของฝ่ายทหารได้ตั้งแต่ภาวะปกติ โดยให้ทุกภาคส่วนสนับสนุนฝ่ายทหารในการป้องกันประเทศอย่างเต็มขีดความสามารถตามแผนที่ฝ่ายทหารกำหนดหรือตามที่ฝ่ายทหารร้องขอ ซึ่งตามแผนผนึกกำลังและทรัพยากรเพื่อป้องกันประเทศได้กำหนดให้มีการผนึกกำลังและทรัพยากรเพื่อการป้องกันประเทศได้กำหนดให้มีการผนึกกำลังจากฝ่ายพลเรือนใน 9 ด้าน เพื่อรองรับสถานะการณ์ที่ไม่ปกติ โดยมอบหมายให้มีการประสานจากฝ่ายพลเรือน ดังนี้
1. ด้านอาหาร
2. ด้านการคมนาคม
3. ด้านน้ำ
4. ด้านการสื่อสาร
5. ด้านเชื้อเพลิงและพลังงาน
6. ด้านกำลังคน
7. ด้านการแพทย์และสาธารณสุข
8. ด้านอุตสาหกรรมและปัจจัยการผลิต
9. ด้านการประชาสัมพันธ์
โดยจะเห็นได้ว่าภัยคุกคามจากสาธารณภัย รวมถึงภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ เช่น การก่อการร้าย ทำให้ต้องมีการพัฒนาเชิงรุกในด้านองค์ความรู้และจัดเตรียมบุคคากรรองรับด้านสาธารณภัยไว้ในภาครัฐและเอกชนอย่างต่อเนื่อง

3.สรุป
ในปัจจุบันจะพบว่ามีการเรียนการสอนในด้านวิศวกรรมความปลอดภัยวิศวกรรมป้องกันอัคคีภัย อาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม และยังมีองค์กรเอกชน คือ คณะอนุกรรมการวิศวกรรมความปลอดภัยของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูถัมภ์ ที่ได้พยายามศึกษาและเผยแพร่องค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังไม่ครอบคลุมถึงสาธารณภัยในทุกด้าน นอกจากการที่วิทยาลัยป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของกรุงเทพมหานคร และสถาบันฝึกอบรมของเอกชนท่สามารถฝึกบุคคลากรในด้านภัยพิบัติต่างๆ ได้ในระดับหนึ่งแล้ว กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยส่วนราชการและวิสาหกิจ ยังคงมีความต้องการบุคคลากรที่มีองค์ความรู้ด้านวิชาการด้านธารณภัยในระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า เพื่อให้สามารถรับมือกับภัยคุกคามให้ได้อย่างสมบรูณ์ครบถ้วน โดยเฉพาะความต้องการองค์ความรู้ในด้านวิทยาศาสตร์วิศวกรรมศาสตร์ และการบริหารจัดการสาธารณภัย และสามารถพัฒนาองค์ความรู้ต่อยอดให้เหมาะสมกับลักษณะทางกายภาพ และสภาพเศษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ภูมิปัญญาและวิถีชีวิตของแต่ละท้องถิ่นและชุมชน รวมทั้งกิจกรรมในองค์กรต่างๆ ซึ่งสถาบันการศึกษาควรพิจารณาจัดตั้งสาขาวิชาในด้านการบริหารจัดการสาธารณภัยเพื่อทดแทนการส่งบุคคลากรไปศึกษาต่างประเทศ หรือมีโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศเข้ามาฝึกอบรมให้ความรู้ด้านการบริหารจัดการสาธารณภัยแก่บุคคลากรในประเทศไทยต่อไป

4.กิตติกรรมประกาศ
ผู้เขียนบทความนี้ขอขอบคุณวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้โอกาสในการเผยแพร่บทความฉบับนี้ แลพขอขอบคุณผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน และนักวิชาการอีกหลายหน่วยงานที่ได้ให้ข้อมูลเพื่อจัดทำบทความ และขอขอบคุณนักวิชาการทุกท่านที่ได้พยายามวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ในด้านสาธารณภัย เพื่อให้ประเทศไทยมีความมั่นคงปลอดภัยจากสาธารณภัยอย่างยั่งยืนสืบไป

เอกสารอ้างอิง
กองประวัติศาสตร์และพิพิทธภัณฑ์ทหาร, สงครามมหาเอเซียบูรพา,
http://data.schq.mi.th/~afed/history_www/bbb1-3.htm ,2552
กรมประชาสัมพันธ์, วาตภัย ,http://thaimews.prd.go.th/naturaldisasters/index.php?option=com_content&task=view&id=3<emid=6,2552
http://th.wikipedia.org/wiki/
พิมลพรรณ อิศรภักดี,สึนามิ:การตายและบาดแผลจากพื้นที่,
http://www.ipsr.mahidol.ac.th/content/Home/Conferencell/Article/Article06.htm
http://codi.or.th/ index.php?option=com_content&task=view&id=3<emid=889& ltemid=95
http://news.impaqmsn. Com/articles_hn.aspx?id=24157&ch=hn
ราชกิจานุเบกษา,กฏกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระมหาดไทย พ.ศ. 2545, 2545
ราชกิจานุเบกษา,แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 พ.ศ. 2550, 2554, 2549
สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ,นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ.2550, 2554
สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ,นโยบายการเตรียมพร้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2548
ราชกิจานุเบกษา, พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550,

ความต้องการบุคคลากรในด้านบริหารการสาธารณภัย

วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2553

แหล่งท่องเที่ยวที่บ้านเกิดของข้าพเจ้า(จังหวัดภูเก็ต)










คำขวัญ : " ไข่มุกอันดามัน สวรรค์เมืองใต้ หาดทรายสีทอง สองวีรสตรี บารมีหลวงพ่อแช่ม "
ประวัติ : ภูเก็ต เป็นเกาะใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ตั้งอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ๘๖๒ กิโลเมตร เป็นหมู่เกาะเดียวที่มีฐานะเป็นจังหวัด คำว่าภูเก็ต มาจาก " ภูเก็จ " ซึ่งมีความหมายว่าภูเขาแก้ว เคยเป็นที่ตั้งของมณฑลภูเก็ตได้รับสมญานามว่า มุกงามของไทย เป็นเกาะที่มีชื่อเสียงมาแต่โบราณ เคยเป็นดินแดนแห่งเศรษฐีเหมืองแร่ดีบุก มีแร่ดีบุกมากที่สุดในประเทศไทย การขุดแร่ดีบุกมีประวัติมากว่า ๕๐๐ ปีแล้ว นอกจากนี้ยังมีการ ปลูกยางพารา ทำสวนมะพร้าว สวนผลไม้และทำการประมง อาคารในตัวเมืองภูเก็ตส่วนมากเป็นตึกสมัยเก่าแบบยุโรป ที่ยังคงได้รับการอนุรักษ์ไว้ อาณาเขต : ทิศเหนือ จดท้องทะเล จังหวัดพังงาทิศใต้ จดทะเลอันดามัน ทิศตะวันออก จดทะเลเขตกระบี่ ทิศตะวันตก จดทะเลอันดามันภูเก็ต เป็นเกาะที่สวยงาม มีชายทะเลขุนเขาสวยงาม เหมาะแก่การท่องเที่ยวอย่างยิ่ง เกาะภูเก็ตมีลักษณะยาวเรียวจากเหนือไปใต้ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงๆ ต่ำๆ มีที่ราบเป็นตอนๆ ประกอบด้วยเกาะบริวาร ๓๙ เกาะ พื้นที่ของภูเก็ตเฉพาะที่เป็นดินประมาณ ๕๔๓ ตารางกิโลเมตร เล็กที่สุดในภาคใต้ ส่วนยาวที่สุดวัดจากเหนือจดใต้ ๔๘ กิโลเมตร และส่วนกว้างที่สุด ๒๑ กิโลเมตร แบ่งการปกครองออก เป็น ๓ อำเภอ คือ อำเภอเมือง ถลาง และกะทู้ครับ
แหล่งท่องเที่ยว :
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเมือง
ฟาร์มชะเจริญ
หมู่บ้านไทยภูเก็ต
สวนผีเสื้อและโลกแมลงภูเก็ต
สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ
วัดฉลอง
ตึกสมัยเก่า
เกาะแก้ว
เกาะสิเหร่
อ่าวกะรน
จุดชมวิว
อ่าวเสน
หาดในหาน
แหลมพรหมเทพ
หาดราไว
หาดแหลมกาใหญ่
อ่าวฉลอง
หมู่บ้านชาวเล
สะพานหิน
เขารัง


แหล่งท่องเที่ยวอำเภอกระทู้
หาดกมลา
หาดกะหลิม
อ่าวป่าตอง
ภูเก็ตแฟนตาซี

แหล่งท่องเที่ยวอำเภอถลาง
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติถลาง
อุทยานแห่งชาติสิรินาถ
วัดพระนางสร้อย
อนุสาวรีย์วีรสตรี
หมู่เกาะพีพี
เกาะยาว
เกาะโหลน
เกาะเฮ
เกาะไม้ท่อน
เกาะราชาใหญ่
หาดทรายแก้ว
หาดไม้ขาว
หาดในยาง
หาดในทอน
อ่าวบางเทา
แหลมสิงห์
หาดสุรินทร์
น้ำตกบางแป
น้ำตกโตนไทร
อุทยานสัตว์ป่าเขาพระแท

วันจันทร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553

ข้อกฎหมายเบื้องต้นที่ควรรู้สำหรับบ้านพักอาศัย 2 ชั้น

การออกแบบและเขียนแบบก่อสร้างบ้านพักอาศัย 2 ชั้น
1. ขนาดที่ดิน บ้านเดี่ยว จะต้องไม่น้อยกว่า 50 ตร.วา (ข้อกำหนด-พรบ.จัดสรรที่ดิน-ปว. 286 (พศ.2515) ข้อ 2 หมวด 2
- ที่อยู่อาศัย กว้างต่ำสุด 10 ม. ยาวต่ำสุดไม่น้อยกว่า 20 ม. ( 50 ตร.วา )
- ถ้าขนาดกว้าง-ยาวไม่ได้ตามกำหนด จะต้องมีเนื้อที่น้อยที่สุดไม่ต่ำกว่า 240 ตร.ม. (60 ตร.วา)
2. กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พศ.2543) ออกความใน พรบ. ควบคุมอาคาร พศ. 2522 “อาคารอยู่อาศัย” = อาคารซึ่งโดยปกติบุคคลใช้อยู่อาศัยได้ทั้งกลางวันและกลางคืน ไม่ว่าจะเป็นการอยู่อาศัยอย่างถาวรหรือชั่วคราว
3. อาคารอยู่อาศัย จะต้องมีที่เว้นว่างปราศจากสิ่งปกคลุม 30% ของพื้นที่รวมของแปลงที่ดิน (OSR= OPEN SPACE RATIO)
พื้นที่มีหลังคาคลุม 70%

ที่เว้นว่าง 30% ของที่ดินรวม
ระยะห่างจากแนวเขตที่ดิน กรณีมีประตู-หน้าต่างจะต้องไม่น้อยกว่า 2.00 ข้อ 50(1) จะต้องสูงไม่เกิน 9.00 ม.
ระยะถอยร่น
ก. ถนนสาธารณะเขตทางกว้างน้อยกว่า 6.00 ม. ให้ร่นอาคารจากกึ่งกลางบนสาธารณะ 3.0 ม. (ศูนย์กลางถนน)
ข. ข้อ 44 กฎกระทรวงตาม พรบ. ควบคุมอาคารความสูงของอาคารไม่ว่าจากจุดหนึ่งจุดใด ต้องไม่เกินสองเท่า ของระยะราบ วัดจากจุดนั้นไปตั้งฉากกับแนวของด้านตรงข้ามของถนนสาธารณะที่อยู่ใกล้อาคารนั้นที่สุด
4. ผนังของอาคารจะต้องอยู่ห่างจากแนวเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 50 ซม. เว้นแต่จะก่อสร้างชิดเขตที่ดินและอาคารดังกล่าวจะก่อสร้างได้สูงไม่เกิน 15 ม. ผนังนี้ต้องเป็นผนังทึบ ดาดฟ้าผังอาคารด้านนั้นให้ทำผนังทึบสูงจากดาดฟ้าไม่น้อยกว่า 1.80 ม.
- กรณีก่อสร้างชิดเขตที่ดิน ต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากเจ้าของที่ดินข้างเคียงที่ดินนั้นด้วย
5. ขนาดที่จอดรถยนต์ ข้อบัญญัติ ก.ท.ม. พศ.2544 ต้องมีขนาด 2.40X5.00 ม. พรบ.ควบคุมอาคาร กฎกระทรวงปี พศ. 2543 ขนาด 2.50X6.00 ม.
6. บันไดอาคารพักอาศัย กทม.กว้างไม่น้อยกว่า 0.90 ม. ต่างจังหวัด (ตาม พรบ. ควบคุมอาคาร) กว้างไม่น้อยกว่า 0.80 ม. ช่วงหนึ่งสูงไม่เกิน 3.00 ซม. หากสูงเกินต้องมีธานพัก กว้างไม่น้อยกว่าความกว้างบันได
- ลูกตั้งสูงไม่เกิน 20 ซม. ลูกนอนเมื่อหักส่วนที่ขึ้นบันไดเหลื่อมกันออกแล้วต้องเหลือความกว้างไม่น้อยกว่า 22 ซม.
7. ระยะดิ่ง อาคารพักอาศัย(พื้นถึงพื้น) ไม่น้อยกว่า 2.6 ม.
- ห้อง wc. ไม่น้อยกว่า 2.0 ม. ( พื้น-เพดาน)
8. ห้องนอนในอาคาร ให้มีความกว้างด้านที่แคบที่สุดไม่น้อยกว่า 2.50 ม. และมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 8 ตรม.
9. ช่องทางเดินภายในอาคาร กว้างไม่น้อยกว่า 1.00 ม.
10. งานเขียนแบบก่อสร้าง จะต้องระบุวัสดุก่อสร้าง ในเขต กทม. เทศบาล จะต้องเป็นวัสดุหนีไฟ มาตราส่วนไม่น้อยกว่า1:100 ในระบบเมตริก (อาคารยาวกว่า 70 ม. จะใช้มาตราส่วนน้อยกว่า 1:100 ก็ได้)
แต่ต้องไม่น้อยกว่า 1:250
11. แผนผังบริเวณ ให้ใช้มาตรส่วนไม่เล็กกว่า 1:500 ระบุทิศทางการระบายน้ำสู่ท่อระบายสาธารณะ ระบุบ่อพัก,บ่อดักขยะ บ่อดักไขมัน
12. แบบแปลน(SCALE ไม่เล็กกว่า 1:100) แสดงแปลนพื้นที่ชั้นต่างๆ รูปด้าน (ไม่น้อยกว่า 2 ด้าน) รูปตัดทางขวาง+ ทางยาว รูปตัดนี้จะต้อง ผ่านบันได และ WC
13.ให้แสดงรายการคำนวณ ชื่อที่อยู่ของผู้ออกแบบ + คำนวณ+จัดทำรายการ+ใบประกอบวิชาชีพ
14. อาคารที่อยู่อาศัย 1 หลัง ต้องมี ห้องส้วม 1ที่ ห้องอาบน้ำ 1 ที่ อ่างล้างมือ 1 ที่
15. ทางเข้าออกรถยนต์ ต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 6.00 ม. หากเดินรถทางเดียว กว้างไม่น้อยกว่า 3.50 ม.
16. จอดรถขนาบถนน กว้างไม่น้อยกว่า 2.40 X 5.00 ม.
- หากจอดหรือทำมุมเดินรถน้อยกว่า 30 องศา (จอดเฉียง) กว้าง 2.40X6.00 ม. (กทม)
- กรณีจอดรถทำมุมกับทางเดินรถตั้งแต่ 30 องศาขึ้นไปให้ใช้ระยะ 2.40X5.50ม.
17. ทางเข้าออกรถยนต์ จะต้องอยู่ห่างจากเชิงลาดของสะพาน, ทางร่วม ทางแยก ไม่น้อยกว่า 20 ม. (กทม)
18. การคำนวณ น้ำหนักบรรทุกจรของห้องพักอาศัยต้องไม่น้อยกว่า 150 ก.ก/ตารางเมตร
19. ตัวอย่างบ้านพักอาศัย 2 ชั้น มี พื้นที่ที่ดิน 55 ตารางวา หรือ 220 ตารางเมตร
19.1 มีพื้นที่ว่าง 30% > 16.5 ตารางวา หรือ 66 ตารางเมตร คงเหลือพื้นที่ก่อสร้างอาคารหรือสิ่งปกคลุม = 154 ตารางเมตร

ตัวอย่างแบบบ้านพ้กอาศ้ย 2 ชั้น







แบบตัวอย่างบ้านพักอาศัย 2 ชั้น